RAM หน่วยความจำชั่วคราว ของคอมพิวเตอร์ เพิ่มความเร็วให้กับระบบการทำงาน

RAM หน่วยความจำชั่วคราว ของคอมพิวเตอร์ เพิ่มความเร็วให้กับระบบการทำงาน

ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ Ram ถือเป็นหน่วยความจำที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่อง และยังเป็นตัวช่วยในการเพิ่มความเร็วให้กับระบบการทำงานอีกด้วย ดังนั้นคอมพิวเตอร์ที่มีแรมสูงจึงมีความเร็วและสเถียรมากกว่าแรมต่ำอย่างเห็นได้ชัด

Ram คืออะไร?

Ram (Random-access memory) คือหน่วยความจำชั่วคราว ซึ่งจะทำการเขียนและบันทึกข้อมูลลงไปในตำแหน่งต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถบันทึกและอ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยแรมก็มีความแตกต่างจากหน่วยความจำประเภทอื่นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น SSD หรือฮาร์ดไดร์ฟ (Hard Drive) ยกตัวอย่างความแตกต่างเช่น ข้อมูลที่บันทึกโดยแรมจะไม่หายไปเมื่อมีการปิดคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลบางประเภทยังคงสามารถกู้กลับคืนมาได้

Ram ทำงานอย่างไร?

การทำงานของ Ram จะเป็นไปในลักษณะของการเก็บชุดคำสั่งและข้อมูลต่างๆ ในขณะที่เปิดใช้งานคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแบบ Input หรือ Output ซึ่งแรมจะสุ่มเข้าไปเก็บข้อมูลจากส่วนต่างๆ ได้โดยตรง ทำให้มีความรวดเร็วเป็นอย่างมาก สามารถเขียนและอ่านข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องผ่านฮาร์ดไดร์ฟเหมือนกับหน่วยความจำอื่น ที่จะทำให้เกิดความช้าในการเก็บข้อมูล ดังนั้นจึงนิยมใช้ Ram เป็นหน่วยความจำหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

แรม

การแบ่งเนื้อที่ของ Ram

เนื้อที่ของ Ram มีการแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่

1. Input Storage Area

เป็นเนื้อที่ส่วนที่จะใช้เก็บข้อมูล Input หรือข้อมูลที่ได้รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูลเข้า โดยถูกเก็บไว้เพื่อรอนำไปประมวลผลต่อไป ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการพิมพ์ข้อความด้วยคีย์บอร์ด ข้อมูลที่พิมพ์เข้าไปนี้จะถูกนำไปเก็บไว้ในส่วนนี้นั่นเอง

2. Working Storage Area

เนื้อที่ตรงส่วนนี้จะทำหน้าที่เก็บข้อมูล ที่ได้จากส่วนแรก ในระหว่างที่กำลังมีการประมวลผลข้อมูล ก่อนจะนำไปเก็บไว้ในเนื้อที่ส่วน Output

3. Output Storage Area

เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลก็จะถูกนำมาเก็บไว้ในเนื้อที่ส่วนนี้ทันที เพื่อรอให้มีการนำออกไปใช้งานยังหน่วยแสดงผลอื่นๆ ตามความต้องการของผู้ใช้

4. Program Storage Area

สำหรับเนื้อที่ส่วนนี้มีไว้เพื่อเก็บชุดคำสั่งและโปรแกรมที่นำเข้ามาในคอมพิวเตอร์ จากนั้นจะทำการแปลความหมายออกมาจากชุดคำสั่งว่าต้องการให้ทำอะไร แล้วจึงไปควบคุมฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ให้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอย่างถูกต้อง

ประเภทของ Ram ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน Ram ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

  • SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory)
  • DDR RAM หรือ DDR-SDRAM (Double Data Rate SDRAM)

โดย DDR SDRAM จะได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีประสิทธิภาพมากกว่า ทำให้รับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ครบถ้วน แต่ราคาก็ไม่ต่างกันมากนัก

รอม

รอม (ROM)

ROM (Read Only Memory) เป็นแรมอีกชนิดหนึ่งที่มีความพิเศษกว่าแรมทั่วไป โดยจะสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ไม่มีกระแสไฟหล่อเลี้ยง โดยนิยมใช้เก็บข้อมูล OS เพื่อให้สามารถบูตเปิดเครื่องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหากสังเกตให้ดีจะพบว่าการทำงานของ ROM และ RAM ก็มีความเหมือนกัน ต่างกันเพียงประเภทของข้อมูลเท่านั้น

  • แรม (RAM) ช่วยในการโหลดระบบปฏิบัติการและโปรแกรมต่างๆ
  • รอม (ROM) จัดเก็บข้อมูลสำคัญที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล

ขนาดของ RAM ที่เหมาะสมในการใช้งาน

การใช้งานคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่น จะมีความเหมาะสมต่อ RAM ที่มีขนาดแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงต้องเลือกขนาดของ RAM ให้มีความเหมาะสมด้วย เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3-4 GB (แรมเริ่มต้นในปัจจุบัน)

แรมขนาด 3-4 GB เป็น RAM ขนาดเริ่มต้นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยหากเป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต จะใช้งาน RAM ได้เพียง 3.2 GB ดังนั้นแม้ว่าจะใส่ RAM ขนาด 4 GB ก็ใช้งานได้เพียงเท่าที่จำกัดเท่านั้น โดยแรมขนาด 4 GB จะใช้งานได้ดีและเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดในระบบปฏิบัติการ 64 บิต

โดยแม้ว่าแรมขนาด 3 GB จะน้อยกว่า 4 GB แต่เมื่อนำมาใช้งานได้อย่างเหมาะสม กับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ก็เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้สูง และทำให้การเรียกใช้โปรแกรมมีความรวดเร็วแล้ว

6-8 GB (ระบบปฏิบัติการ 64 บิต)

RAM ขนาด 6-8 GB เป็นแรมที่มีประสิทธิภาพสูง แต่เหมาะกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ 64 บิตเท่านั้น โดยแรมขนาดนี้จะช่วยให้ใช้งานโปรแกรมบางประเภทได้ดี เช่น การตัดต่อวิดีโอ โปรแกรมเกี่ยวกับภาพถ่าย และการเล่นเกมบน PC ดังนั้น RAM 6-8 GB จึงได้รับความนิยมสูงมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เล่นเกม PC

12-16 GB (ระบบปฏิบัติการ 64 บิต)

สำหรับ RAM 12-16 GB ก็เหมาะกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ 64 บิต และมีการใช้เครื่องหนักๆ หรือเปิดใช้โปรแกรมพร้อมกับหลายโปรแกรม เช่น การใช้โปรแกรมวาดแบบจำลอง 3 มิติ โปรแกรม Premiere Pro และการประมวลผลวิดีโอ CAD เป็นต้น โดยปกติแล้วก็สามารถใช้ RAM ขนาด 8 GB ได้ แต่อาจจะประมวลผลได้ช้า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ RAM ขนาด 12-16 GB เพื่อเพิ่มความเร็วมากขึ้น

RAM มีหลายขนาด โดยแรมที่มีขนาดมากกว่า จะทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลมากขึ้น แต่ RAM จะใช้งานได้ดีเมื่อนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเหมาะสมเท่านั้น ซึ่งหากนำแรมที่มีขนาดสูง เช่น 16 GB ไปใช้กับระบบปฏิบัติการ 32 บิต ก็ไม่ได้แตกต่างจากการใช้ RAM 3-4 GB ที่สำคัญจะใช้ RAM ขนาดไหนก็ต้องดูความจุของ Slot ที่ใช้ในการเสียบ RAM ด้วย

เกี่ยวกับเรา

บริษัท วันบีลีฟ จำกัด รับดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ ดูแลส่วนงาน IT ภายในบริษัท เรามีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี ดำเนินการโดยทีมงานมืออาชีพ

ติดต่อเรา

Line ID: @1BELIEF
asdf