ธุรกิจออนไลน์ ตลาดขนาดใหญ่มหาศาล แค่มีอินเตอร์เน็ต ก็เริ่มต้นทำธุรกิจได้แล้ว
ธุรกิจออนไลน์ อาจไม่ต้องมีสำนักงาน ไม่ต้องมีพนักงานขายเพื่อออกหาลูกค้า ไม่ต้องมีแผนกจัดส่งสินค้า ฯลฯ แต่อาจเติบโตได้โดยใช้เงินทุน และเวลานานพอสมควรจึงจะเป็นที่รู้จักของลูกค้า ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยี เว็บไซต์ (Website) มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก มีการติดต่อสื่อสารผ่านทาง Internet การทำธุรกิจการค้าแบบเดิมๆ ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะสามารถที่จะทำการขายผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบของธุรกิจออนไลน์ได้ แถมใช้ต้นทุนต่ำและไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานมากมายเหมือนแต่ก่อน การทำธุรกิจออนไลน์จึงกลายเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน
ธุรกิจออนไลน์คืออะไร?
การทำธุรกิจออนไลน์ หมายถึง การขายสินค้า/บริการบนเว็บไซด์ ไม่ว่าจะขายสินค้าบนเว็บไซด์ที่ลงทุนเสียเงินทำเอง หรือ ขายบนเว็บฟรี เช่น เฟสบุค ไลน์ หรือ การนำสินค้าไปโพสไว้กับเว็บที่ให้บริการลงโฆษณาฟรี ในปัจจุบันการทำธุระกิจออนไลน์ไม่ใช่เทรน Trend หรือกระแส แต่สามารถทำเป็นอนาคตที่มั่นคง เลี้ยงชีพและครอบครัวได้
การทำธุรกิจออนไลน์ คือ การค้าขายและให้บริการผ่านทางระบบออนไลน์ โดยมีเว็บไซต์เป็นสื่อกลาง ในปัจจุบันทั้งเว็บไซต์ที่ต้องลงทุนทำขึ้นมาเอง และเว็บไซต์ที่เปิดให้ทำการลงโฆษณาขายแบบฟรีๆ อย่างเช่น เว็บลงประกาศฟรี การทำธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบันไม่ได้ทำขึ้นเพราะเป็นกระแส แต่เป็นการทำขึ้นโดยมองการณ์ไกล เพื่อการสร้างรายได้แบบระยะยาว และสามารถยึดเป็นอาชีพหาเลี้ยงครอบครัวได้
ความสำเร็จของธุรกิจออนไลน์
การเริ่มลงมือทำธุรกิจขายของออนไลน์อย่างถูกต้อง จะทำให้ร้านค้าออนไลน์ของคุณเติบโตขึ้นเรื่อยๆ สร้างอนาคตได้อย่างมั่นคงระยะยาว หากไม่รู้วิธีว่าต้องทำธุรกิจออนไลน์อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ สามารถติดต่อหาบริษัท 1Belief ได้ เพราะบริการหลักของเราคือ บริการทำการตลาดออนไลน์ และดูแลเว็บไซต์เพื่อการค้า
เงินทุนในการทำธุรกิจออนไลน์
สำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็นการประหยัดต้นทุนได้ดีที่สุด เพราะมีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาน้อยมาก อาจมีค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าทำเว็บไซต์ ค่าใช้จ่ายในการโปรโมท และเงินลงทุนในการสต็อกสินค้าที่จะขาย แต่ความจริงแล้วในปัจจุบัน ก็มีการเปิดรับสมัครตัวแทนขายแบบไม่ต้องสต็อกสินค้า (Dropship) ซึ่งก็จะช่วยให้คุณได้ประหยัดค่าใช้จ่ายยิ่งขึ้น
ประเภทธุรกิจออนไลน์
- เว็บไซต์ขายสินค้า เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้คนนิยมทำกันมากที่สุด เพราะทำง่ายและสามารถสร้างรายได้ได้เร็ว เพียงแค่นำสินค้าของคุณมาแสดงบนเว็บไซต์ พร้อมบอกรายละเอียดและราคา ตกแต่งเว็บไซต์ให้มีความสวยงามสะดุดตา ก็จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้เกิดความสนใจได้ดี
- เว็บไซต์เพื่อการโฆษณา รูปแบบการทำธุรกิจออนไลน์ ที่ไม่ใช่การขายสินค้าบนเว็บ แต่เป็นการแนะนำหน้าร้านของตนเอง เพื่อให้มีผู้คนรู้จักมากขึ้น โดยรายละเอียดในการประชาสัมพันธ์ก็จะบอกว่า ร้านของเราคือร้านอะไร ขายอะไร ตั้งอยู่ที่ไหน และสามารถทำการติดต่อได้อย่างไร นอกจากนี้เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดให้กับเว็บไซต์ ก็อาจมีการเพิ่มเติมเนื้อหาในรูปแบบของบทความให้ความรู้ประกอบลงบนเว็บ
- เว็บไซต์ข่าวสาร เป็นการทำธุรกิจออนไลน์ด้วยการเผยแพร่ข่าวสาวต่างๆ ให้กับผู้อื่นได้รู้ ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างรายได้ด้วยการติดโฆษณากับ Google Adsense ซึ่งก็ทำรายได้ได้ดีไม่แพ้การขายของ เพียงแต่ต้องมีการอัพเดตข่าวสาร-บทความ อย่างสม่ำเสมอ
- เว็บ Blog โปรโมทสินค้า ส่วนใหญ่จะทำขึ้นมาเพื่อเป็นการรีวิวสินค้าหรือสิ่งต่างๆ ที่มีความน่าสนใจ ซึ่ง blog ในรูปแบบนี้ มักจะได้รับความนิยม เพราะลูกค้าส่วนใหญ่จะชอบดูรีวิวสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อเสมอ
- เว็บตลาดประกาศขาย เป็นการทำธุรกิจออนไลน์ในรูปแบบของการเป็นสื่อกลาง (ตลาด) เพื่อให้ผู้คนได้มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือแสดงความคิดเห็นกัน ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ เช่น Kaidee และ เว็บประกาศฟรี เป็นต้น
- เป็นผู้ประกาศขาย ด้วยการนำสินค้าของตัวเองเข้าไปขายในตลาดออนไลน์ เมื่อเริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย จึงสร้างตลาดออนไลน์เป็นของตัวเอง พร้อมกับขายสินค้าของตัวเองไปด้วย
ข้อดีของธุรกิจออนไลน์
- ไม่ต้องมีหน้าร้านก็ทำได้ เพราะธุรกิจออนไลน์เป็นการเปิดกว้างในการขาย เพียงแค่สร้างแฟนเพจ เว็บไซต์ หรือเปิดร้านค้าออนไลน์ขึ้นมา ก็สามารถนำสินค้ามาขายได้ทันที ซึ่งตัวสินค้าที่นำมาขายนั้นก็อาจจะเป็นตัวสินค้าที่มีสต็อกจริงๆ หรือเป็นการขายในรูปแบบตัวแทนที่ไม่ต้องมีหน้าร้าน โดยหากต้องการให้ธุรกิจออนไลน์ของเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอย่างรวดเร็ว ก็แค่ทำ SEO (Search Engine Optimization) เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Search Engine ต่างๆ เช่น Google, Bing, Yahoo
- ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่มีค่าเช่าร้านค้า ค่าเช่าพื้นที่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปหาลูกค้า หรือค่าสินค้าที่จะนำมาสต็อกไว้ขาย การทำธุรกิจออนไลน์นั้นมีร้านค้าฟรี แฟนเพจฟรี ให้สามารถเปิดขายได้ง่าย แค่มีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
- เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทั่วโลก เพราะบนโลกออนไลน์เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้แบบทั่วโลก แค่มีความรู้ในด้านภาษาเล็กน้อย นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อพูดคุยกับลูกค้าได้ง่ายๆ ผ่านทางโซเชียล อย่างเช่น Line, Facebook และ IG ที่สามารถเข้าถึงได้หลายประเทศ
- สร้างแบรนด์ของตัวเองได้ คนส่วนใหญ่มักจะใช้อินเทอร์เน็ตจนเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต การขายสินค้าโดยสร้างแบรนด์ของตัวเองบนธุรกิจออนไลน์ จึงทำให้มีผู้คนรู้จักและจดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโปรโมทแบรนด์ได้มากกว่าเดิม
- ทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถทำธุรกิจออนไลน์ อัพโหลดสินค้า พูดคุยตอบโต้กับลูกค้าได้ตลอด เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ อาชีพนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการสร้างรายได้เสริม เพราะถึงแม้ว่าจะทำงานประจำ ก็สามารถสร้างรายได้จากธุรกิจออนไลน์ได้ตลอดเวลา
- ทำได้ทุกสายอาชีพ ธุรกิจออนไลน์เป็นงานที่เปิดกว้าง ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ และมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จกับการทำธุรกิจเหล่านี้ รวมถึงนักเรียนนักศึกษาที่อยากจะมีรายได้เสริม ก็สามารถเริ่มลงมือได้
- สร้างรายได้มากกว่างานประจำ เรื่องนี้คือเรื่องจริง พนักงานประจำบางคนขายของออนไลน์เป็นอาชีพเสริม ก็สามารถมีรายได้หลักแสน-หลักล้านได้ แต่จะต้องตั้งใจเรียนรู้ ลงมือทำอย่างจริงจัง ทำธุรกิจออนไลน์ เสมือนหนึ่งว่านี่คือการทำงานประจำ ทำพลาดก็กลัวโดนไล่ออก ทำดีก็ได้ขึ้นเงินเดือน (รายได้)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบออนไลน์ โดยจะรวมไปถึงการขายสินค้าและบริการ การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งข้อมูลผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในรูปแบบของดิจิทัลออนไลน์ การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ การขายตรง การจำหน่ายหุ้น การให้บริการหลังการขายและการประมูล เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้กับสินค้าและบริการพวก บริการด้านกฎหมาย การศึกษา อุปกรณ์ทางการแพทย์ บริการด้ายข้อมูลต่างๆ
รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่
- B-to-B (Business to Business) เป็นรูปแบบการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กร โดยจะเป็นการขายครั้งละมากๆ
- B-to-C (Business to Consumer) เป็นรูปแบบการค้าระหว่างองค์กรกับลูกค้าส่วนบุคคล โดยจะเป็นการค้าส่งขนาดย่อมแบบพอประมาณ
- C-to-C (Consumer to Consumer) เป็นรูปแบบการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลกับบุคคลด้วยกัน โดยจะเป็นลักษณะของการค้าปลีก ส่วนมากจะมีปริมาณการขายน้อย
- G-to-C (Government to Consumer) เป็นรูปแบบการค้าระหว่างภาครัฐกับผู้บริโภค โดยมักจะเป็นการให้บริการประชาชน
- G-to-B (Government to Business) เป็นรูปแบบการค้าระหว่างภาครัฐกับองค์กร โดยจะเป็นการขายในปริมาณมากๆ
วิธีการทำธุรกิจออนไลน์
1. เว็บไซต์ สิ่งสำคัญของการทำธุรกิจออนไลน์
ปัจจุบันโซเชียลกำลังมาแรง จึงทำให้เหล่าพ่อค้าแม่ค้าหรือผู้ที่ต้องการทำธุรกิจออนไลน์ส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์น้อยลง โดยเฉพาะแบรนด์เล็กๆ แต่หากมองในแง่ความจริงแล้ว เว็บไซต์ก็ยังถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อการทำธุรกิจออนไลน์อยู่ดี โดยเฉพาะกับแบรนด์สินค้าที่ต้องการการเติบโตอย่างยั่งยืน นั่นก็เพราะเว็บไซต์ถือเป็นสินทรัพย์บนโลกออนไลน์ของแบรนด์ เพราะมีเจ้าของจริง โดยไม่ได้ไปเช่าที่ของคนอื่นอยู่ หรืออาจกล่าวได้ว่า เจ้าของเว็บไซต์ สามารถทำอะไรกับเว็บไซต์ก็ได้ตามต้องการ นอกจากนี้หากแบรนด์ไหนสามารถใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ได้ดี ก็จะกลายเป็นผู้ที่ได้เปรียบบนโลกออนไลน์อีกด้วย
2. เน้นการสร้างคุณค่า และซื้อโฆษณาให้น้อยลง
การซื้อโฆษณาเป็นกลยุทธิ์ ที่เหล่านักธุรกิจออนไลน์ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน ซึ่งแม้ว่าโฆษณาเหล่านี้จะสามารถเพิ่มผู้เข้าชมให้สูงขึ้นได้ และยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาสั้น แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถที่จะหยุดจ่ายเงินค่าโฆษณาเหล่านั้นได้ เมื่อมีการแข่งขันทางด้านโฆษณาสูงขึ้น ราคาค่าโฆษณาก็จะแพงขึ้น ดังนั้นคงจะดีกว่าหากพยายามซื้อโฆษณาให้น้อยลง และเน้นการสร้างคุณค่าให้กับเว็บไซต์ให้มากขึ้นแทน (การทำ SEO) ซึ่งจะทำให้ได้กลุ่มลูกค้าที่เข้าชมเว็บไซต์เนื่องจากความสนใจในเว็บไซต์จริงๆ และยังลดค่าใช้จ่ายในการซื้อโฆษณาลงอีกด้วย
3. อย่าลืมเก็บข้อมูลลูกค้า
การเก็บข้อมูลของลูกค้า มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจออนไลน์เป็นอย่างมาก เพราะในอนาคตคาดว่าจะกลายเป็นยุคที่มีการทำ Big Data ซึ่งมี Artificial Intelligence (AI) เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งหากแบรนด์ไหนมีข้อมูลของลูกค้ามาก ก็จะสามารถประมวลผลได้ดีกว่า และยังได้เปรียบคู่แข่ง นอกจากนี้ก็สามารถที่จะเสนอการขายได้อย่างถูกที่ ถูกเวลามากกว่าเช่นกัน โดยการเก็บข้อมูลของลูกค้า ก็สามารถทำได้ 2 แบบ คือ
- การเก็บข้อมูลจากที่ลูกค้าให้มา เช่น อายุ เพศ ชื่อ งบประมาณ เป็นต้น
- การเก็บข้อมูลที่ได้จากพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ความถี่จากการที่ลูกค้าเปิดอีเมลล์ การเข้าใช้งานของลูกค้า เป็นต้น
4. อย่าละทิ้งโลก Offline
การทำธุรกิจออนไลน์ไม่ควรละทิ้งโลก Offline ดังนั้นจึงควรเชื่อมต่อระหว่างโลกออนไลน์ และออฟไลน์เข้าด้วยกันอย่างแนบเนียน กล่าวคือ เป็นการขายและให้บริการผ่านทางออนไลน์ก็จริง แต่ก็ควรเปิดช่องทางให้สามารถติดต่อกันในรูปแบบ offline ได้ด้วย หรือในบางคนที่นอกจากจะขายของบนร้านค้าออนไลน์แล้ว ก็มีหน้าร้านจริงด้วยนั่นเอง
การตลาดออนไลน์ 4.0
Digital Marketing เป็นรูปแบบในการทำการตลาดออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมและมีการพูดถึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการตลาดออนไลน์ 4.0 ซึ่งมี 3 ลักษณะสำคัญที่เหล่านักธุรกิจควรรู้ก่อนเริ่มทำการตลาดออนไลน์ 4.0 ดังนี้
1. การทำธุรกิจแบบออนไลน์และออฟไลน์ต้องไปด้วยกัน
การตลาด 4.0 เน้นการเชื่อมโยงระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน ผู้ที่ต้องการทำธุรกิจการขาย ก็จะต้องมีทั้งการขายบนร้านค้าออนไลน์ และขายแบบหน้าร้านจริง เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกในการสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น และยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือได้ดี
2. การตลาด 4.0 กับ 1-1 Marketing
เน้นการทำธุรกิจที่ให้ความใส่ใจ และให้ความสำคัญกับลูกค้าแบบรายบุคคล มากกว่าลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายกว้างๆ
3. ให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน พร้อมรับฟังความเห็น
เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงต้องมีการให้ข้อมูล และรับฟังความคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่าย ดังนั้นผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์จึงต้องเตรียมข้อมูลสำหรับการตอบคำถาม เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุด และต้องยอมรับฟังคำติชมจากลูกค้า เพื่อนำมาปรับปรุงต่อไป การจะทำธุรกิจในยุคการตลาด 4.0 จึงต้องทำการศึกษาข้อมูลและกลยุทธ์ต่างๆ ให้ดี เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
E-Payment กับธุรกิจออนไลน์ในไทย
E-Payment เป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน โดยมีลักษณะเป็นระบบที่สามารถทำการโอนชำระเงินผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งตัวกลางที่ใช้ในการโอนก็คือ คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน และมีระบบอินเทอร์เน็ตเป็นตัวช่วยในการเชื่อมต่อ โอนผ่าน Payment Gateway ในรูปแบบของเว็บไซต์ และยังสามารถทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ผ่านทางบัตรเครดิตได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามระบบ E-Payment อยู่ภายใต้การทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นก่อนเปิดใช้งาน จึงต้องมีการขออนุญาตจากธนาคารก่อน ซึ่งธุรกิจที่อยู่ภายใต้การทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็มีทั้งหมด 8 บริการดังนี้
- การเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) เป็นมูลค่าของเงินที่ได้มีการบันทึกไว้บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนใหญ่จะมาจากการทำธุรกรรมทางออนไลน์แทนเงินสดและการโอนจ่ายชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ นั่นเอง
- บริการเครือข่ายบัตรเครดิต เป็นบริการที่จะทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลทางการเงิน โดยส่งไปยังผู้ใช้บริการบัตรเครดิต
- บริการเครือข่าย EDC Network เป็นจุดเชื่อมโยง ที่ได้ทำการเชื่อมโยงเครือข่ายของอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
- บริการสวิตชิ่งในการชำระเงิน ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อเพื่อทำการรับส่งข้อมูลการชำระเงินไปให้กับผู้ให้บริการ
- บริการหักบัญชี (Clearing) เป็นบริการเพื่อให้ตรวจสอบและยืนยันคำสั่งในการชำระเงินแบบหักบัญชีระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
- บริการชำระดุล (Settlement) เป็นบริการที่จะช่วยจัดการการชำระเงินแบบล่วงหน้า โดยการหักเงินในบัญชีของผู้ใช้บริการเพื่อไปชำระแก่เจ้าหนี้แบบอัตโนมัติ
- บริการชำระเงินแทน โดยเป็นบริการที่จะทำการชะระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเจ้าหนี้นั่นเอง
- บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์ ซึ่งก็คือการชำระเงินผ่านทางอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ โดยมีระบบอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมต่อ แต่จะไม่มีการเก็บเงินไว้
คนไทยมั่นใจชำระเงินผ่าน E-payment มากแค่ไหน
สำหรับความมั่นใจของคนส่วนใหญ่ในการชำระเงินผ่าน E-payment สามารถสรุปได้ดังนี้
- 73% ทำการชำระเงินและธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านทางระบบ E-payment มากกว่าการชำระด้วยเงินสด ไม่ว่าจะเป็นการชำระผ่านบัตร อุปกรณ์เคลื่อนที่ แสดงให้เห็นได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่มั่นใจในการชำระเงินผ่าน E-payment มากพอสมควร
- กลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง มักจะใช้บริการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด คือที่ 83% โดยเมื่อเทียบกับตลาดทั่วไปที่ 68% เท่านั้น
- คนกว่า 60% เริ่มคิดว่าการใช้จ่ายด้วยเงินสดไม่ปลอดภัยอีกต่อไป และพยายามเลี่ยงการพกเงินสด
- 48% สามารถเข้าทำการเบิกถอนเงินสดได้ง่ายขึ้น
- จากการทำการสำรวจพบว่า 67% เลือกชำระเงินแบบอัตโนมัติมากกว่า เพราะมีความสะดวก รวดเร็วและลดขั้นตอนความยุ่งยากได้ดี
โดยนวัตกรรมการชำระเงินผ่าน E-payment นี้ ได้เริ่มเข้ามาพร้อมกับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจออนดีมานด์ โดยเริ่มมาจากแนวคิดที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วและความปลอดภัยในการชำระเงิน จึงทำให้เกิดระบบนี้ขึ้นมาในที่สุด
ขยายธุรกิจออนไลน์ด้วย Facebook
Facebook ได้กลายเป็นช่องทางที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ในการทำธุรกิจออนไลน์มากขึ้น เพราะเป็นสังคมโซเชียลที่รวบรวมผู้คนจากทั่วประเทศ ทั่วโลกเข้าไว้เป็นจำนวนมาก จึงสามารถที่จะสร้างโอกาสและเพิ่มยอดขายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงหันมาใช้ Facebook ในการทำธุรกิจมากขึ้น ทั้งยังเป็นเทคนิคที่ครอบคลุมทุกกระบวนการอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์ การให้ข้อมูลสินค้าจนกระทั่งการสั่งซื้อ โดยมีเทคนิคดังนี้
1. สร้าง Facebook Page ที่ดี
เพราะ Facebook Page เป็นเหมือนดั่งหน้าร้านของธุรกิจ หากหน้าร้านมีความน่าสนใจ ดึงดูด ก็จะช่วยดึงให้ลูกค้าเข้าร้านได้ดี ดังนั้นจึงควรสร้าง Facebook Page ให้ดูน่าสนใจด้วยการออกแบบหน้าเพจให้ดูสวยงาม สะดุดตา สื่อถึงสินค้าได้อย่างดีเยี่ยม และที่สำคัญเลยก็คือ จะต้องมีที่ตั้งของร้าน เวลาทำการ ประวัติที่มา ข้อมูลการติดต่อ และสินค้าอย่างครบถ้วนด้วย นอกจากนี้หากมีหลักฐานการจดทะเบียนพาณิชย์ ก็จะยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น
2. โปรโมทร่วมกับเว็บไซต์
การโปรโมทร่วมกับเว็บไซต์ จะช่วยเพิ่มผู้เข้าชมและเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและการทำกำไรได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ ก็จะต่อยอดมายังแฟนเพจต่อไปนั่นเอง โดยให้ทำการติดตั้ง Facebook like Box ขึ้นภายในเว็บไซต์ เท่านี้ก็เรียบร้อย
3. สร้างเนื้อหาที่ดี
การมีเนื้อหาที่ดี จะช่วยเรียกความสนใจจากกลุ่มลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม และเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น โดยสำหรับการสร้างเนื้อหานั้นอาจจะเป็นบทความสั้นๆ คลิปวิดีโอ หรือจะเป็นภาพประกอบข้อความก็ได้ ขึ้นอยู่กับจะดีไซน์ออกแบบขึ้นมาอย่างไรนั่นเอง และที่สำคัญเนื้อหาจะต้องมีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อผู้รับชมด้วย นอกจากนี้เมื่อมีเนื้อหาแล้ว ก็ให้ทำการโพสต์บ่อยๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม สลับไปกับการโพสต์ขายสินค้าและโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งหากเนื้อหาโดนใจ ก็จะมีลูกค้าเข้าชมเพจเยอะขึ้น
4. จิตใจที่พร้อมให้บริการ
เป็นจุดสำคัญที่ผู้ดูแลหรือที่เรียกว่าแอดมินเพจควรให้ความใส่ใจ เพราะจะช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการตอบแชทอย่างรวดเร็ว การตอบคำถามใต้โพสต์ที่มีผู้ถามเข้ามาอยู่เสมอ หรือการพูดคุยหน้าเพจเพื่อไม่ให้ดูเงียบเหงาจนเกินไป ซึ่งผู้ดูแลจะต้องพยายามใช้ภาษาในการพูดคุยที่สุภาพ จริงใจและไม่ดูแข็งทื่อจนไม่เป็นธรรมชาติ ที่สำคัญจะต้องมีเวลาพอสมควร เพื่อคอยตอบคำถามหรือตอบรับออเดอร์ของลูกค้าตลอดเวลาที่มีการติดต่อเข้ามา
5. นำไปสู่การขาย
การโพสต์ขายสินค้าเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ลูกค้าไม่ทราบว่าหากต้องการซื้อสินค้าจะต้องทำอย่างไรบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีการนำไปสู่การขาย เช่นเขียนใส่ลงในใต้โพสต์ขายสินค้าว่า สนใจคลิกซื้อสินค้าได้ที่เว็บไซต์, สามารถสั่งซื้อสินค้าที่ใต้โพสต์ได้เลย หรือให้ติดต่อผ่านทางกล่องข้อความ ซึ่งหากมีรายละเอียดหรือเงื่อนไขใดๆ ก็ให้ใส่ลงไปด้วย เพื่อที่ลูกค้าจะได้ทำความเข้าใจได้ทันทีและไม่ต้องเสียเวลากับการสอบถาม
6. ใช้ Facebook Ads เป็นตัวช่วย
Facebook Ads เป็นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะจะทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสามารถมองเห็นสินค้าของธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงกลุ่มผู้คนได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งแม้ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการทำ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ากับผลลัพธ์ที่ได้มากทีเดียว แถมยังสามารถจำกัดงบประมาณไม่ให้เกินงบได้
7. Retargeting ต้องน่าสนใจ
เป็นเทคนิคการทำการตลาด ที่จะพุ่งเป้าไปสู่กลุ่มลูกค้าที่รู้จักและมีความสนใจในสินค้าและบริการประเภทนี้อยู่แล้ว จึงทำให้โอกาสที่จะทำยอดขายเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่การทำการตลาดในรูปแบบนี้ ก็จะเพ่งไปที่กลุ่มลูกค้าจากฐานข้อมูลของธุรกิจ และลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เป็นหลัก
8. ทำโฆษณาให้ถูกกฎ
การทำโฆษณาจะต้องทำให้ถูกกฎตามที่ Facebook กำหนด ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถทำโฆษณาได้ โดยกฎที่สำคัญยกตัวอย่างเช่น จะต้องมีตัวอักษรแค่ 20% ของพื้นที่โฆษณาทั้งหมด, ต้องไม่มีคำพูดถึงการรับประกันและการการันตรีต่างๆ รวมถึงไม่มีรูปภาพที่ล่อแหลม เป็นต้น
9. Optimization
อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจะมองข้ามไม่ได้ ก็คือการพัฒนาให้โฆษณามีผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงในบางจุดอยู่เสมอ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ การได้ลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ยังคงมีงบประมาณในการโฆษณาเท่าเดิมนั่นเอง ส่วนจะพัฒนาอย่างไรดี ก็ให้วัดดูจากผลลัพธ์เดิมของโฆษณาที่ทำขึ้นเป็นหลัก
เท่านี้การทำธุรกิจผ่านทาง Facebook Page ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป และสามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นอีกด้วย เพียงแค่นำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้เท่านั้น โดยเฉพาะในการสร้างแฟนเพจให้มีความน่าสนใจและการทำโฆษณาให้มีคุณภาพ เพื่อโปรโมทธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
การทำ ธุรกิจออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องยาก หากมีความตั้งใจจริง และมีเวลาพอที่จะเอาใจใส่ลูกค้า ที่สำคัญถือเป็นธุรกิจที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน บางทีอาจไม่ต้องสต็อกสินค้า แค่มีอินเทอร์เน็ตก็ขายได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะฉะนั้นสำหรับใครที่อยากมีรายได้เสริม มีธุรกิจเป็นของตัวเองแบบง่ายๆ การทำธุรกิจออนไลน์ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ