Hard Disk ทำงานอย่างไร และกำลังจะสูญพันธุ์จริงหรือไม่

Hard Disk ทำงานอย่างไร และกำลังจะสูญพันธุ์จริงหรือไม่

กล่าวได้ว่าไม่มีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) คนใดไม่รู้จัก ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) คือส่วนประกอบชิ้นสำคัญของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ดุจคลังเก็บข้อมูลทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ สื่อสารสนเทศ แอนตี้ไวรัส โปรแกรมต่าง ๆ เพราะฉะนั้น หากฮาร์ดดิสก์เกิดความเสียหายหรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติแล้ว นี่คือหนึ่งในหายนะที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนหวาดกลัวมากเลยทีเดียว เพราะหมายถึงข้อมูลทั้งหมดที่ถูกเก็บบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์มีโอกาสที่จะสูญหายไปโดยไม่สามารถเก็บกู้คืนมาได้ ด้วยเหตุนี้ ฮาร์ดดิสก์จึงเปรียบได้กับกล่องดวงใจ ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องหมั่นดูแลรักษาให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งบางคนอาจดัดแปลงเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการใช้งานของตนเองได้ด้วยเช่นกัน

Hard Disk ทำงานอย่างไร

หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์ คือ การใช้สารแม่เหล็กบันทึกข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ลงไปบนจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งจะมีการหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน เพราะฉะนั้น เสียงคล้าย ๆ พัดลมกำลังทำงานที่หลายคนได้ยินเวลาบันทึกข้อมูลลงบนคอมพิวเตอร์ก็คือเสียงการทำงานของฮาร์ดดิสก์นั่นเอง โดยปกติแล้ว หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ที่วิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูลเวลาที่คลิกบันทึกไฟล์ต่าง ๆ นั้นจะมีความเร็วในการหมุนประมาณ 30,000 นิ้ว/วินาที หรือประมาณ 270 กม./ชม. เลยทีเดียว โดยข้อมูลที่ได้รับการบันทึกลงในฮาร์ดดิสก์นั้นจะถูกเก็บรักษาอยู่ภายในโดเมนแม่เหล็กซึ่งมีขนาดเล็กมาก และโดเมนดังกล่าวนี่เองที่เป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของฮาร์ดดิสก์ภายนอก (external hard disk) ที่ยิ่งมีขนาดเล็กมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสามารถกักเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเท่านั้น

ความเร็วรอบในการทำงานของ Hard Disk

ความเร็วรอบในการอ่าน และเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานบันทึกข้อมูลลงไปภายในฮาร์ดดิสก์ โดยความเร็วปกติในปัจจุบันนั้นจะอยู่ประมาณ 5400 rpm และ 7200 rpm ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ความเร็วในการบันทึกข้อมูล 5400 rpm ในแล็บท็อบนั้นจะช่วยประหยัดแบตเตอรี่ในกรณีที่จำเป็นต้องนำออกไปใช้งานนอกสถานที่ ขณะที่ความเร็ว 7200 rpm อาจจะมีความเหมาะสมกับผู้ที่ทำงานด้านกราฟฟิกที่ต้องใช้ความเร็วในการเรนเดอร์งานที่มีความซับซ้อนต่าง ๆ รวมไปถึงเกมเมอร์ที่ต้องใช้กราฟฟิกหน้าจอที่มีความคมชัดสูง ซึ่งความเร็วในการบันทึกข้อมูลเหล่านี้นั้น ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มได้ตามความต้องการใช้งานของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการดัดแปลงเพียงเล็กน้อย หรือการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ทั้งชุดก็สามารถทำได้เช่นกัน

rpm (Revolutions per minute) = อัตราเร็วรอบต่อนาทีของจานหมุนบน Hard Disk

rpm (Revolutions per minute) = อัตราเร็วรอบต่อนาทีของจานหมุนบน Hard Disk

สนใจบริการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงานไหม? ที่วันบีลีฟ เราเป็นบริษัท IT Outsources ให้บริการงานดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายภายในบริษัท คอมเสีย ติดไวรัส พิมพ์ไม่ออก หรือแม้กระทั่ง Hard Disk เสีย กู้ไฟล์ไม่ได้ เราสามารถดูแลให้คุณได้ ทั้งการสำรองข้อมูลเป็นประจำ และการแก้ไขอาการเสียของคอมพิวเตอร์

สัญญาณที่บอกว่าถึงเวลาเปลี่ยน Hard Disk ใหม่

หากใช้งานคอมพิวเตอร์มาเป็นระยะเวลานาน บางครั้งชิ้นส่วนภายในรวมถึงฮาร์ดดิสก์อาจจะมีความทรุดโทรมลงไปบ้างตามกาลเวลา ซึ่งจะพบว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องนำคอมพิวเตอร์ไปพบช่างเพื่อเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ เมื่อพบสัญญาณต่อไปนี้

1. คอมพิวเตอร์ต้องรับมือกับเหตุไฟดับบ่อย ๆ

ไฟดับบ่อย ๆ นั้นเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลเสียในระยะยาวต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างแน่นอน โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีอุปกรณ์ UPS สำหรับสำรองไฟฟ้า หากใช้งานอยู่ดี ๆ แล้วปรากฏว่าไฟดับลงไปพร้อมกับคอมพิวเตอร์บ่อย ๆ นั่นหมายความว่าฮาร์ดดิสก์กำลังตกอยู่ในจุดเสี่ยงอันตรายที่จะเสียหายอย่างหนัก และพังลงไปพร้อมกับข้อมูลต่าง ๆ เพราะฉะนั้น จึงควรหาฮาร์ดดิสก์ภายนอกมาสำรองข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์กันไว้ก่อน จากนั้นก็ให้หาอุปกรณ์ UPS มาใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟดับกะทันหัน เพราะเมื่อเทียบราคาของ UPS กับความเสี่ยงที่ฮาร์ดดิสก์จะดับลงไปพร้อมกับไฟดับนั้น ย่อมมีความคุ้มค่ามากกว่าอย่างแน่นอน

2. เสียงดังภายในฮาร์ดดิสก์

หากทำงานอยู่ในห้องที่เงียบสงัด แต่กลับได้ยินเสียงดังติ๊ก ๆ ที่ไม่ใช่เสียงเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมระบายอากาศจาก CPU และเมื่อเงี่ยหูฟังดี ๆ ก็พบว่าเสียงปริศนาดังกล่าวดังออกมาจากฮาร์ดดิสก์ หากเป็นเช่นนั้นก็มีความเป็นไปได้สูงว่าชุดขับเคลื่อนมอเตอร์หรือหัวอ่านฮาร์ดดิสก์อาจกำลังมีปัญหาเสียแล้ว โดยเฉพาะในกรณีของหัวอ่านที่หากเวลากำลังบันทึกงานลงในคอมพิวเตอร์นั้น มีเสียงติ๊ก ๆ ดังรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากหัวอ่านที่ติดขัดกับแผ่นจานของฮาร์ดดิสก์อยู่ ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ควรยก CPU ไปให้ช่างตรวจสอบโดยเร็ว เพราะหากปล่อยไปอาจจะเป็นอันตรายต่อข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ภายในคอมพิวเตอร์ได้

3. เครื่องคอมพิวเตอร์ชอบค้างบ่อย ๆ

หนึ่งในปัจจัยสาเหตุที่นำไปสู่อาการคอมค้างนั้น มีความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์รวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะเวลาที่กำลังบันทึกข้อมูลหรือ Save ไฟล์งานลงในคอมพิวเตอร์ แล้วพบว่าระบบปฏิบัติการทำงานนานผิดปกติจนกระทั่งค้างไปเลย ก็เป็นไปได้สูงว่าฮาร์ดดิสก์กำลังทำงานบกพร่องด้วยเหตุปัจจัยบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายไฟไปหล่อเลี้ยงฮาร์ดดิสก์ไม่พอ หรือฮาร์ดดิสก์มีความเสียหายเนื่องจากใช้มาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ควรแกะ CPU ออกมาเพื่อเช็คความผิดปกติ หรือหากไม่ถนัดก็ควรนำไปให้ช่างซ่อมคอมมืออาชีพช่วยตรวจสอบความผิดปกติ เพราะเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์ค้างบ่อย ๆ นั้นมีอยู่มากมายด้วยกัน และแต่ละเหตุล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการทำงานในภาพรวมทั้งสิ้น

4. คอมพิวเตอร์ร้อนมากผิดปกติ

หนึ่งในปัญหาที่พบได้ง่ายในคอมพิวเตอร์ที่มีอายุการใช้งานค่อนข้างสูง ความผิดปกติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะมีที่มาจากพัดลมระบายอากาศที่ทำงานบกพร่อง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติทั้ง ๆ ที่เพิ่งเปิดเครื่องได้ไม่นานนั้นอาจจะมาจากมอเตอร์ที่ได้รับแรงดันไฟฟ้ามากเกินไปหรือขาดเสถียรภาพจนทำงานผิดพลาด ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวไม่ควรปล่อยเอาไว้ เพราะอาจนำไปสู่เหตุไฟฟ้าลัดวงจรที่ทำให้ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ล้มเหลว และทำให้ฮาร์ดดิสก์เกิดความเสียหายได้

5. ใช้งานโปรแกรมอยู่ดี ๆ แล้วก็ค้างบ่อยๆ

หากกำลังใช้งานโปรแกรมทำงานอยู่ดี ๆ แล้วจู่ ๆ มันก็ค้างไปอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย โดยที่ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับหน่วยความทรงจำเต็มหรือคอมพิวเตอร์ติดไวรัส กรณีนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อฮาร์ดดิสก์มีปัญหาเกี่ยวกับ Bad Sector ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากเป็นเช่นนั้น วิธีการแก้ไขเดียวที่สามารถทำได้คือ การสำรองข้อมูลทั้งหมดไว้ใน Cloud หรือ External Hard disk จากนั้นก็นำคอมพิวเตอร์ไปให้ช่างเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ใหม่ทั้งชุดก็จะช่วยให้ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์กลับมาทำงานได้ตามปกติ

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเลต ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลไว้ใน Cloud ได้แบบสะดวกสบาย และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่าง Google Drive และ Microsoft One Drive จึงอาจทำให้ Hard Disk และ External Hard Disk มีการใช้งานน้อยลงและเข้าสู่ภาวะสูญพันธุ์ตามอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนทางเทคโนโลยี (technological disruption) ไปในท้ายที่สุด   

เกี่ยวกับเรา

บริษัท วันบีลีฟ จำกัด รับดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ ดูแลส่วนงาน IT ภายในบริษัท เรามีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี ดำเนินการโดยทีมงานมืออาชีพ

ติดต่อเรา

Line ID: @1BELIEF