วิธีเลือกตู้สาขาโทรศัพท์ (PBX/PABX) ให้เหมาะสม กับการใช้งานในองค์กรมากที่สุด
ตู้สาขาโทรศัพท์เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า หรือใช้ติดต่อกันในหน่วยงานภายใน ทำให้แต่ละองค์กรมีเบอร์ภายในเป็นของตนเองเพื่อใช้สื่อสารกันภายในองค์กร และสื่อสารกับองค์กรภายนอกได้สะดวกขึ้น เพราะไม่ต้องผ่านการโอนของโอเปอร์เรเตอร์ ซึ่งองค์กรจะต้องเลือกให้เข้ากับระบบโทรศัพท์ของตัวองค์กรเองด้วย สำหรับวิธีการเลือกตู้สาขาโทรศัพท์ให้เหมาะกับองค์กร และใช้งานได้คุ้มค่าที่สุด ทำได้อย่างไรบ้าง ไปดูคำตอบกันเลย
ตู้สาขาโทรศัพท์ คืออะไร
ตู้สาขาโทรศัพท์ PABX (Private Automatic Branch Exchange) เป็นระบบชุมสายโทรศัพท์ย่อย โดยออกแบบมาสำหรับใช้ภายในองค์กร หรือภายในหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้องค์กรหรือหน่วยงานนั้นๆ มีเบอร์โทรศัพท์สำหรับติดต่อ และเบอร์ภายในของตัวเอง สามารถใช้สื่อสารกันภายในองค์กร รวมถึงยังสามารถใช้โทรออกไปยังหน่วยงานภายนอกได้อีกด้วย ที่สำคัญยังสามารถรับสายจากภายนอกโดยไม่ต้องผ่านโอเปอร์เรเตอร์ได้ด้วยเช่นกัน
ประเภทของตู้สาขาโทรศัพท์
การแบ่งประเภทของตู้สาขาโทรศัพท์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ตู้สาขาโทรศัพท์แบบอนาล็อก หรือแบบ Switching PBX
เป็นระบบตู้สาขาโทรศัพท์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยก่อน ส่วนในปัจจุบันก็เริ่มได้รับความนิยมน้อยลง และมีการใช้สายโทรศัพท์เล็กสีเหลือง ซึ่งมีทั้งแบบ 2 สาย และแบบ 4 สาย หลักการทำงาน คือ ต้องมีคนคอยทำหน้าที่เป็นโอเปอร์เรเตอร์ สำหรับนั่งคอยต่อสายภายในไปยังแผนกต่างๆ โดยโอเปอร์เรเตอร์จะมีหน้าที่รับสายและถามต้นสายว่า ต้องการติดต่อฝ่ายใดในหน่วยงาน จากนั้นจึงทำการโอนสายไปยังแผนกนั้น
2. ตู้สาขาโทรศัพท์แบบดิจิตอล หรือแบบ IP-PBX
คำว่า IP (Internet Protocol) PBX (Private Branch Exchange) IP-PBX เป็นการรวมเอาเทคโนโลยีของระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ที่ใช้กันทั่วไปรวมมาให้เข้ากับระบบ VoIP ทำให้ได้คุณสมบัติของระบบโทรศัพท์ที่มีความสามารถในการทำงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การสื่อสารได้รับการเชื่อมต่อที่กว้างขวางขึ้น โดยสามารถใช้ได้ทั้งในระบบพื้นฐานที่มีและระบบ IP ได้พร้อมๆ กัน และคุณสมบัติที่ดีของ IP-PBX คือ สามารถเชื่อมต่อกันผ่านระบบเครือข่าย หรือ IP ได้ อีกทั้งองค์กรสามารถเชื่อมเข้าที่ใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
3. ตู้สาขาโทรศัพท์แบบ IP (VoIP)
เป็นตู้ที่มีการพัฒนาคุณสมบัติ และความสามารถเชื่อมต่อให้สามารถสื่อสารได้มากขึ้น โดยใช้ช่องทางในการติดต่อผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ IP
4. ตู้สาขาโทรศัพท์แบบ PABX
ตู้สาขาโทรศัพท์แบบ PABX (Private Automatic Branch Exchange) เป็นการสื่อสารที่เน้นรูปแบบการสื่อสารแบบสองทาง โดยสามารถสื่อสารได้ทั้งภาพและเสียงไปพร้อมกัน
วิธีเลือกตู้สาขาโทรศัพท์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
สำหรับวิธีการเลือกตู้สาขาโทรศัพท์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน มีหลักในการเลือกดังต่อไปนี้
1. ประเมินความความต้องการใช้ของหน่วยงาน
สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง คือ ความต้องการใช้โทรศัพท์ของหน่วยงาน โดยประเมินว่าช่วงเวลาไหน มีความต้องการใช้คู่สายโทรศัพท์สูงสุดเท่าใด เช่น มีการใช้คู่สายจากภายนอกพร้อมๆ กันตั้งแต่ 3 คู่สาย แสดงว่าองค์กรจะต้องมีคู่สายภายนอกขั้นต่ำ 3 คู่สาย รวมทั้งการใช้งานในหน่วยงานภายในที่จะมีการโทรไปภายนอกในเวลาที่มีสายภายนอกเข้ามาด้วย ดังนั้น ถ้ามีการโทรออก 1 คู่สาย แสดงว่าหน่วยงานจะต้องมีสาขาตู้โทรศัพท์อย่างน้อย 4 คู่สาย
2. รู้จำนวนเบอร์ติดต่อภายในทั้งหมด
จะต้องรู้จำนวนเบอร์ติดต่อภายในทั้งหมด เช่น มีโทรศัพท์ภายในทั้งหมด 20 คน โดยจะต้องใช้สาขาตู้โทรศัพท์ที่รองรับคู่สายภายใน 20 คู่สาย
3. เลือกซื้อจากบริษัทที่น่าเชื่อถือ
หลักการเลือกตู้สาขาโทรศัพท์ จะต้องเลือกซื้อจากบริษัทผู้จัดจำหน่าย มีความน่าเชื่อถือ และมีประสบการณ์การขายอุปกรณ์ตู้สาขาโทรศัพท์มานาน ทั้งนี้บริษัท วันบีลีฟจำกัด เรามีผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ รับติดตั้งตู้สาขาโทรศัพท์ มีบริการซ่อม ดูแลแบบครบวงจร มีทั้งประสบการณ์ในการติดตั้ง และระยะเวลาในการให้บริการมาอย่างยาวนาน เพราะการติดต่อสื่อสารด้วยโทรศัพท์นี้มีความสำคัญอย่างมาก จึงมีปัญหาไม่ได้เลยหลังจากติดตั้ง ดังนั้น หากเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ จะทำให้ได้ระบบโทรศัพท์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป
4. ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ
ราคา เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเลือกตู้สาขาโทรศัพท์ เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ย่อมทำให้บริษัทผู้ผลิตสามารถผลิตตู้สาขาโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ ออกมาตอบโจทย์ความต้องการใช้งานในยุคปัจจุบันมากมาย ทำให้ตู้มีราคาต่ำลง แต่ยังคงประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่ากับราคาตู้สาขาโทรศัพท์แพงๆ อีกด้วย
5. เลือกจากความต้องการใช้งานตู้สาขาโทรศัพท์
การเลือกใช้งานนอกจากจะต้องดูจำนวนคู่สายทั้งหมดที่ต้องใช้แล้วจะต้องมีการเผื่อไว้สำหรับอนาคตด้วย ซึ่งบางยี่ห้อนั้น สามารถเพิ่ม Card สายนอกและสายในได้ในภายหลัง แต่บางยี่ห้อไม่สามารถเพิ่มสายได้อีก มีทางเดียวคือการเปลี่ยนตู้เท่านั้น จึงต้องเผื่อไว้ก่อนในอนาคต รวมทั้งการเลือกตู้สาขาโทรศัพท์จะต้องเลือกยี่ห้อที่ใช้งานง่ายมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง รองรับได้ทั้งการใช้เบอร์ตรง เบอร์กลาง และเบอร์ต่อ เพื่อให้สามารถใช้หลายคู่สายพร้อมๆ กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสื่อสารของบริษัทหรือองค์กรนั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดปัญหาสายหลุด โทรไม่ติด สายไม่ว่าง รวมถึงเหตุขัดข้องอื่นๆ ที่ทำให้การติดต่อสื่อสารเกิดขัดข้อง ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือขององค์กร
6. มีบริการติดตั้งและ Set ค่าล่วงหน้า
ปัจจุบันการติดตั้งตู้สาขาโทรศัพท์สามารถทำได้ง่ายกว่าสมัยก่อน ทำให้สามารถเลือกและติดตั้งหรือให้บริษัท Set ค่าล่วงหน้า แล้วจึงค่อยมาต่อสายเองอีกทีก็ได้ ซึ่งตู้สาขาโทรศัพท์ควรเลือกซื้อจากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีทีมช่างที่สามารถติดตั้งได้อย่างดีด้วยความเชี่ยวชาญ มีความชำนาญและเป็นมืออาชีพสูงในการติดตั้งระบบ เพื่อให้ตู้สาขาโทรศัพท์ในหน่วยงานสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีปัญหาขัดข้องในระหว่างการใช้
7. เลือกบริษัทที่มีรับประกัน และมีบริการหลังการขาย
การเลือกตู้สาขาโทรศัพท์ ควรเลือกบริษัทรับติดตั้งตู้สาขาโทรศัพท์ ที่มีการรับประกันอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป และควรมีบริการหลังการขายที่ดี สามารถติดต่อได้สะดวกเมื่อเกิดปัญหาในการใช้งาน รวมทั้งเมื่อหมดประกันแล้วจะต้องมีอะไหล่สำรองไว้เปลี่ยนได้อย่างน้อย 5 ปี จะช่วยให้องค์กรสามารถรองรับการบริการซ่อมแซมได้อย่างสะดวกมากขึ้น เพราะทีมช่างที่มีอะไหล่พร้อมในการซ่อมแซมด้วยความเชี่ยวชาญ จะทำให้อุ่นใจเมื่อเลือกใช้ และมั่นใจว่าจะใช้งานได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ หากเกิดปัญหาในครั้งต่อไปก็จะมีทีมช่างพร้อมช่วยแก้ไขปัญหาให้ได้อย่างรวดเร็ว
การเลือกซื้อตู้สาขาโทรศัพท์นั้น เราจะต้องเลือกให้ตรงตามความต้องการในการใช้งานจริงขององค์กร เพื่อให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพในการใช้งาน โดยควรเลือกซื้อจากบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ ราคาไม่แพงจนเกินไป มีทีมช่างคอยมาดูแลอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญควรมีการรับประกันการใช้งานให้ด้วย