ประวัติของ “ระบบคอมพิวเตอร์” ที่มีมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติของ “ระบบคอมพิวเตอร์” ที่มีมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน

ระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้นับได้ว่ามีความก้าวหน้าไปมากกว่าครั้งแรกที่ถือกำเนิดเป็นอย่างมาก เพราะในยุคแรกที่คอมพิวเพอร์กำเนิดนั้นได้ถูกให้คำจำกัดความไว้ว่าเป็นเครื่องคำนวณเพราะผู้ที่ผลิตได้ตั้งใจให้เป็นแบบนั้น แต่หลังจากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ก็ได้ทำการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับระบบทั้ง 11 ของคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งถึงในปัจจุบันนี้กันดังนี้

1. Non operating system หรือระบบการทำงานแบบยังไม่มีระบบปฏิบัติการ

ในยุคแรกของการผลิตคอมพิวเตอร์นั้นยังไม่ได้มีการพัฒนาให้เป็นระบบเหมือนปัจจุบัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์จะเหมือนกล่องเปล่าๆ ที่ไม่มีอะไรเลย หากต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไรก็แล้วแต่ ต้องมีคนคอยเขียนโปรแกรมสั่งงานและต้องมีการตรวจสอบพร้อมกับป้อนข้อมูลไปพร้อมๆ กัน เรียกได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นเพียงอุปกรณ์อย่างหนึ่งไม่สามารถตัดสินใจอะไรเองได้ จึงทำให้การใช้งานจะอยู่กันในวงแคบๆ เท่านั้น

2. Batch system ระบบงานแบบแบ็ตซ์

หลังจากยุคของการป้อนคำสั่ง ระบบนี้จะเป็นการสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบเดิม แต่การทำงานของระบบนั้นก็ไม่สามารถทำงานได้มาก เพราะระบบจะสามารถทำได้แค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ในการรวบรวมงานจะต้องเป็นคนที่รับงานจากนักพัฒนาโปรแกรม เพื่อที่จะทำการจัดระเบียบให้กับการใช้คำสั่งในคอมพิวเตอร์โดยจะทำการคัดแยกงานที่มีความคล้ายคลึงกัน ให้จัดเรียงไปตามความสำคัญและต้องเรียงให้ถูกต้องตามลักษณะของโปรแกรมอีกด้วย เมื่อทำการจัดกลุ่มจนเสร็จจึงค่อยส่งให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล

3. Bufferin system

ระบบนี้มีการเพิ่มความสามารถของระบบให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดยสามารถรับและส่งข้อมูลได้พร้อมกัน หลังจากที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในยุคก่อนหน้านี้จะเป็นการรับข้อมูลในทางเดียว ทำให้นักพัฒนาสร้างระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บข้อมูลเข้าหน่วยความจำผิดจากยุคก่อนที่จะเป็นการส่งคำสั่งโดยตรงไปที่ CPU เลย ซึ่งจะทำให้เวลาที่ต้องทำการประมวลผลต่างๆ จะสามารถทำได้ทันทีและยังสามารถโหลดข้อมูลเข้าไปแทนที่ได้ในทันทีไม่ต้องรออีกด้วย

4. Spooling

ด้วย multiprogramming พื้นฐาน จึงทำให้ CPU ทำงานได้ดียิ่งขึ้น เพราะจะเป็นตัวกลางที่ทำให้สามารถทำงานได้พร้อมๆ กันทั้งสองงาน หนึ่งคือการประมวนผลซึ่งอยู่ในส่วนของ CPU และสองนั่นคือการรับส่งพร้อมแสดงผลข้อมูลนั่นเอง

5. Multiprogramming

เป็นระบบที่ทำให้การใช้งานของ CPU ได้ประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ด้วยการทำงานของระบบที่จะทำการโหลดข้อมูลไปไว้ที่หน่วยความจำหลักเสียก่อน และทำหน้าที่ประมวลผลในทันที ซึ่งระบบจะทำการเลือกงานเข้าไปประมวลผลได้เองโดยที่ไม่ต้องมานั่งใส่ข้อมูลให้เหนื่อย

Multitasking

6. Multitasking ระบบแบ่งเวลา หรือ Time – sharing

เป็นระบบที่พัฒนามาเพื่อขยายการทำงานของระบบ multiprogramming ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสลับงานของผู้ใช้หลายๆ คนเข้าสู่ CPU ด้วยความเร็วสูง จนทำให้ผู้ที่กำลังใช้อยู่รู้สึกได้ว่าเหมือนใช้ CPU อยู่คนเดียวนั่นเอง

7. Real – time system

ระบบเรียลไทม์นี้มีประโยชน์กับระบบปฏิบัติการที่ต้องการใช้เวลาจริงๆ เช่น ระบบเช็นเซอร์ที่ใช้ส่งให้กับคอมพิวเตอร์ในการทำงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นการใช้งานในระบบของทางการแพทย์ การควบคุมการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือการใช้งานในระบบยานยนต์เกี่ยวกับระบบหัวฉีดต่างๆ ครอบคลุมไปถึงระบบการยิง ระบบแขนกลพร้อมทั้งเครื่องใช้ในครัวเรือน ซึ่งระบบนี้จะมีการทำงานอยู่ 2 ระบบ โดยทางระบบจะถูกโปรแกรมเอาไว้ว่าต้องใช้งานระบบไหนก่อน

8. Personal Computer System หรือเรียกง่ายๆ ว่าระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

หลังจากเป็นยุคที่ต้องผ่านการพัฒนาในเรื่องของระบบการปฏิบัติการต่างๆ คอมพิวเตอร์ก็ถูกปรับเปลี่ยนบทบาทมาเป็นอีกหนึ่งบทบาทนั่นก็คือการใช้งานภายในบ้าน เพราะคอมพิวเตอร์โดยส่วนมากจะต้องใช้ในเรื่องของการทำธุรกิจ และหากใครต้องมีคอมพิวเตอร์สักเครื่องนั้นก็ต้องใช้เงินค่อนข้างมากเลยทีเดียว แต่เมื่อมีการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในเรื่องของอุปกรณ์ที่มีการแข่งขันกันอย่างมากในแวดวงของคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้ง่ายมากขึ้น และคอมพิวเตอร์ในระบบนี้ไม่ได้มีแค่เครื่อง PC ที่ต้องตั้งอยู่กับที่เท่านั้น เหล่านักพัฒนาก็ได้ทำการให้คอมพิวเตอร์สามารถพกพาไปทำงานที่อื่นได้จนเกิดมาเป็นคอมพิวเตอร์วางตัก หรือ Notebook นั่นเอง จวบจนกระทั่งพัฒนามาจนเป็นระบบที่สามารถใช้งานกับมือถือได้ ทำให้มือถือกลายเป็นเสมือนคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง — หากคุณกำลังมองหา บริษัทรับดูแลระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบริษัท องค์กร สามารถติดต่อ วันบีลีฟจำกัดได้เลย

9. Virtual machine

ระบบแบบนี้หากพูดขึ้นมาลอยๆ อาจมีคนไม่เข้าใจหรือไม่รู้จักค่อนข้างมาก แต่หากเปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่นนั่นเอง ซึ่งจะเป็นการใช้เทคโนโลยี Virtual machine เข้ามามีบทบาทในการทำงาน

10. Multiprocessor system

Multiprocessing เป็นการทำงานโดยการใช้ CPU ไม่น้อยกว่าหนึ่งตัวเพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือกันจะได้ทำให้คอมพิวเตอร์นั้นสามารถรับคำสั่งได้ครั้งละหลายคำสั่งในขณะที่ใช้งานอยู่ และหากเกิดการเสียของ CPU ก็ยังมีการทำงานแทนกันจาก CPU ตัวอื่นได้อยู่ โดยจะใช้หน่วยในการประมวลผลมากกว่าหนึ่งเครื่องนั่นเอง

11. Distributed system หรือระบบกระจาย

หากบอกว่าระบบกระจายอาจจะงงกันได้แต่หากบอกว่าเป็นระบบเครือข่ายหลายๆ คนคงเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น โดยระบบที่หลายๆ คนรู้จักเป็นอย่างดีนั่นก็คือ Windows linux unix mac ทุกคนคงจะรู้จักระบบเหล่านี้กันเป็นอย่างดีเพราะได้มีการใช้จริงและใช้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

จากที่ได้เห็นถึงพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ที่เริ่มจากระบบ DOS จนมาถึงในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาระบบมาอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดนั่นเอง

เกี่ยวกับเรา

บริษัท วันบีลีฟ จำกัด รับดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ ดูแลส่วนงาน IT ภายในบริษัท เรามีประสบการณ์ยาวนานกว่า 10 ปี ดำเนินการโดยทีมงานมืออาชีพ

ติดต่อเรา

Line ID: @1BELIEF