โครงสร้างพื้นฐานของ HTML
โครงสร้างของ HTML จะประกอบไปด้วยส่วนของคำสั่ง 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น ส่วนหัว (Head) และส่วนที่เป็นเนื้อหา (Body) โดยมีรูปแบบคำสั่งดังนี้
การจัดโครงสร้างแฟ้มเอกสาร
ในความง่ายของภาษา HTML นั้นเพราะภาษานี้ไม่มีโครงสร้างใด ๆ มากำหนดนอก จากโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น หรือ แม้แต่จะไม่มีโครงสร้าง พื้นฐานอยู่ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมานั้นก็สามารถทำงานได้เสมือนมี โครงสร้างทั่งนี้เป็นเพราะว่าตัวโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ จะมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโปรแกรม HTML เป็นส่วนเนื้อหาทั้งสิ้น
ยกเว้นใน ส่วนหัว ที่ต้องมีการกำหนด แยกออกไปให้เห็นชัดเท่านั้น จะเขียนคำสั่ง หรือข้อความที่ต้องการให้แสดงอย่างไรก็ได้ เป็นเสมือนพิมพ์งานเอกสารทั่ว ๆ ไปเพียงแต่ทำตำแหน่งใดมีการ ทำตำแหน่งพิเศษขึ้นมา เว็บเบราเซอร์ถึงจะแสดงผลออกมาตามที่ถูกกำหนด โดยใช้คำสั่งให้ตรงกับรหัสที่กำหนดเท่านั้น
HTML คืออะไร
HTML เป็นภาษาประเภท Markup Language ที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจขึ้นมา โดยมีแม่แบบที่มาจากภาษา SGML โดย HTML จะเป็นภาษาในการสร้างเว็บ ที่สามารถเรียนรู้ และทำความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งในปัจจุบันก็มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายและมีการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานจากองค์กร World Wide Web Consortium (W3C)
อธิบายง่ายๆ HTML คือ ภาษาหลักที่นำมาใช้ในการเขียนเว็บเพจขึ้นมา เพื่อให้ได้หน้าเว็บเพจที่สมบูรณ์ที่สุด โดยจะใช้ <Tag></Tag> ในการกำหนดการแสดงผลของ HTML ที่แสดงอยู่บนหน้าเว็บเพจ และเนื่องจาก HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language จึงมีความหมายโดยรวมว่า เป็นภาษาในการเขียนเว็บเพจที่ใช้ Tag กำหนดการแสดงผลบนเว็บเพจที่ต่างเชื่อมโยงถึงกันใน Hyperspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง
ความเป็นมาของ HTML
ภาษา HTML มีต้นกำเนิดจากเมื่อปี 1980 ที่ Tim Berners Lee ได้คิดค้นและทำการเสนอต้นแบบสำหรับนักวิจัยใน CERN เพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้านการวิจัย โดยใช้ชื่อว่า Enquire ต่อมาในปี 1990 เขาก็ได้ทำการเขียนโปรแกรมเบราเซอร์ขึ้นมา และทดลองรันบนเซิฟเวอร์ที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษา HTML และในปี 1991 ก็ได้มีการรู้จัก HTML Tag ทั้งหมด 18 Tag อย่างแพร่หลายด้วยกัน ซึ่งหลังจากนั้นมาภาษา HTML ก็ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น HTML 5.0 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
- <a>
- <address>
- <base>
- <dd>
- <dir>
- <dl>
- <dt>
- <h1>, …<h6>
- <hp1>, …<hp2>,
- <isindex>
- <li>
- <listing>
- <menu>
- <nextid>
- <p>
- <plaintext>
- <title>
- <ul>
การแสดงผลที่เว็บเบราเซอร์
หลังจากมีการพิมพ์โปรแกรมนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้บันทึกเป็น ไฟล์ที่มีนามสกุล .htm หรือ .html จากนั้นให้เรียกโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ขึ้นมาทำการทดสอบ ข้อมูลที่เราสร้างจะถูก นำมาที่ออกมาแสดงที่จอภาพ ถ้าไม่เขียนอะไรผิด บนจอภาพก็จะแสดงผลตามนั้น
ถ้าเรามีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในโปรแกรมเดิม ให้อยู่ในรูปของ โปรแกรมใหม่ ก็จำ เป็นต้องโหลดโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เพียงแต่เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ปุ่ม Refresh โปรแกรมก็จะทำการ ประมวลผลและแสดงผลออกมาใหม่ ในคำสั่ง HTML ส่วนใหญ่ใช้ตัวเปิด เป็นเครื่องหมายน้อยกว่า < ตามด้วยคำสั่ง และปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า > และมีตัวปิดที่มีรูปแบบเหมือนตัวเปิดเสมอ เพียงแต่จะมีเครื่อง หมาย / อยู่หน้าคำสั่งนั้นๆ เช่น คำสั่ง <BODY> จะมี </BODY> เป็นคำสั่งปิด เมื่อใดที่ผู้เขียนลืมหรือพิมพ์คำสั่งผิด จะส่งผลให้การทำงานของโปรแกรมผิดพลาดทันที